Published by Neyseo at ตุลาคม 18, 2024 โรคภูมิแพ้ (Allergy) คือภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อสารบางชนิดที่ปกติไม่เป็นอันตรายต่อคนทั่วไป แต่ในผู้ที่เป็นภูมิแพ้ ระบบภูมิคุ้มกันจะมองว่าสารเหล่านั้นเป็นสิ่งแปลกปลอมและพยายามต่อสู้กับมัน โดยสารที่ทำให้เกิดการแพ้เรียกว่า สารก่อภูมิแพ้ (Allergens) เมื่อร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้ ระบบภูมิคุ้มกันจะหลั่งสารเคมี ฮีสตามีน (Histamine) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการคัน น้ำมูกไหล จาม หรือมีอาการที่รุนแรงกว่านั้นหากไม่ได้รับการรักษาภูมิแพ้ที่เหมาะสม อาทิ หายใจลำบาก หรือภาวะภูมิแพ้รุนแรง (Anaphylaxis)
อาการของโรคภูมิแพ้ ที่ร่างกายตอบสนองจนสังเกตได้
อาการภูมิแพ้ในระบบหายใจ
ผู้ที่ต้องการรักษาภูมิแพ้ ต้องทราบก่อนว่าตนมีอาการภูมิแพ้ในระบบหายใจรูปแบบใดบ้าง เริ่มตั้งแต่การคันจมูกและคัดจมูก น้ำมูกไหล อาการจามบ่อย ๆ มักเกิดเป็นชุดต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ หายใจไม่สะดวก อันเกิดจากการอักเสบและบวมของเยื่อบุจมูกหรือหลอดลม ทำให้หายใจลำบาก อาจมีอาการหายใจเสียงหวีด Wheezing soud หรือหอบร่วมด้วย (ในกรณีของโรคหืด) และอาการไอเรื้อรัง เกิดจากการระคายเคืองในทางเดินหายใจส่วนล่าง อาการนี้มักเกิดขึ้นในช่วงกลางคืนหรือหลังออกกำลังกาย
อาการภูมิแพ้ในระบบทางเดินอาหาร
ภูมิแพ้ในระบบทางเดินอาหารมักเกิดจากการแพ้อาหาร ในกลุ่มนมวัว ถั่ว ไข่ และอาหารทะเล โดยผู้ที่ไม่ได้ทานยาแก้แพ้ (Antihistamine) อาการที่เกิดขึ้นมักแสดงภายในไม่กี่นาทีถึงหลายชั่วโมงหลังจากรับประทานอาหารที่แพ้ อาการที่สังเกตได้ มีตั้งแต่อาการคลื่นไส้และอาเจียน โดยระบบทางเดินอาหารตอบสนองต่อการระคายเคืองและพยายามขับอาหารออกจากร่างกาย อาการปวดท้องและท้องเสีย อาการบวมในช่องปากหรือลำคอ ในบางกรณีจะมีอาการบวมที่ลิ้น ริมฝีปาก หรือลำคอ ซึ่งเป็นอาการแพ้ที่รุนแรง ทำให้หายใจไม่ออก ต้องได้รับการรักษาภูมิแพ้อย่างเร่งด่วน
อาการภูมิแพ้ในผิวหนัง
ภูมิแพ้ในผิวหนังเกิดขึ้นจากการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องสำอาง โลหะ ฝุ่น หรืออาหาร โดยผู้ที่มีอาการภูมิแพ้ หากไม่ได้ยาแก้แพ้ (Antihistamine) ที่เหมาะสม ผิวหนังจะมีตุ่มน้ำเล็ก ๆ ผื่นแดงแห้งคันขึ้นในบริเวณที่สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ มักเกิดบริเวณใบหน้า ข้อพับแขน ข้อพับขา คอ หรือมีอาการบวมเฉพาะจุด รวมถึงผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการลมพิษร่วมด้วย
อาการภูมิแพ้ในระบบอื่น ๆ
บางครั้งอาการภูมิแพ้อาจส่งผลกระทบต่อระบบอื่น ๆ ของร่างกาย ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับการแพ้ที่รุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เหมือนกัน โดยอาการที่สังเกตได้ มีตั้งแต่การบวมของลำคอหรือทางเดินหายใจ ทำให้หายใจลำบากหรือไม่สามารถหายใจได้ ความดันโลหิตต่ำ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหน้ามืด วิงเวียน หรือบางรายอาจถึงขั้นช็อก หมดสติ หรืออาการแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) แพ้รุนแรงอาการนี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาภูมิแพ้อย่างเร่งด่วนด้วยการฉีดอะดรีนาลีน หรือ อีพิเพ็น (adrenaline / epipen) และรีบไปพบแพทย์
สาเหตุของการเกิดโรคภูมิแพ้
เกิดจากกรรมพันธุ์
หากในครอบครัวมีประวัติของการแพ้สารบางชนิดหรือเป็นโรคภูมิแพ้ เช่น โรคหืด ผื่นภูมิแพ้ หรือโรคเยื่อบุจมูกอักเสบภูมิแพ้ ลูกหลานจะมีโอกาสเกิดภูมิแพ้ได้สูงกว่าคนทั่วไป เนื่องจากพันธุกรรมมีผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายมีการตอบสนองที่ไวต่อสารก่อภูมิแพ้มากกว่าปกติ โดยถ้าพ่อหรือแม่เป็นโรคภูมิแพ้ โอกาสที่ลูกจะเป็นภูมิแพ้อยู่ที่ประมาณ 30 ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าทั้งพ่อและแม่เป็นโรคภูมิแพ้ โอกาสที่ลูกหลานจะเป็นภูมิแพ้มากขึ้น 50 ถึง 70 เปอร์เซ็นต์
เกิดจากสิ่งแวดล้อม
ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมเป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ และรวมถึงการเลือกวิธีรักษาภูมิแพ้ด้วย แม้ว่าจะไม่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว การสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นสารก่อภูมิแพ้หรือมลพิษในระยะยาวก็สามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ได้ สารก่อภูมิแพ้ที่พบในสิ่งแวดล้อมประกอบไปด้วย ฝุ่นละออง ไรฝุ่น ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ เชื้อราในอากาศ ควันจากยานพาหนะ โรงงานอุตสาหกรรม หรือควันบุหรี่ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เครื่องสำอาง ยาฆ่าแมลง อาหารบางชนิด อย่างถั่ว นมวัว อาหารทะเล หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ความชื้น หรือลม ก็สามารถทำให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน หากไม่ได้รับการดูแลรักษาภูมิแพ้ที่เหมาะสม
ก่อนรักษาภูมิแพ้ ต้องรู้ให้ได้ก่อนว่าแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดใด
การรักษาภูมิแพ้มีขั้นตอนที่สำคัญมากในการระบุสารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้เกิดอาการ เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยวิธีการตรวจสอบมีหลายวิธี แต่ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้
การตรวจทดสอบภูมิแพ้โดยการสะกิดผิวหนัง (Skin Prick Test): เป็นการตรวจที่ใช้เข็มเล็กๆ สะกิดผิวหนัง เพื่อให้สารก่อภูมิแพ้ที่ทำการทดสอบเข้ามาในร่างกาย ถ้าคุณแพ้สารนั้นจะเกิดอาการบวมแดงขึ้นในบริเวณที่ทดสอบ ซึ่งช่วยให้แพทย์รู้ว่าคุณแพ้สารก่อให้เกิดภูมิแพ้ชนิดใด และรักษาภูมิแพ้ได้กับสาเหตุที่แพ้ได้
การตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด (Allergy Blood Test): วิธีนี้จะวิเคราะห์เลือด เพื่อตรวจหาการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อสารก่อภูมิแพ้ โดยมักจะดูระดับของแอนติบอดี IgE ซึ่งสามารถบอกได้ว่าคุณมีแนวโน้มที่จะแพ้สารใด
การทดสอบการแพ้อาหารโดยรับประทานอาหารที่สงสัย (Oral Food Challenge Test): วิธีนี้เป็นการทดสอบที่ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่สงสัยว่าจะทำให้เกิดอาการแพ้ โดยจะอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพื่อสังเกตอาการที่เกิดขึ้น หากมีอาการแพ้เกิดขึ้นจะสามารถระบุได้ว่าอาหารนั้นคือสารก่อภูมิแพ้
วิธีการรักษาภูมิแพ้
หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้
การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้เป็นวิธีการพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการป้องกันและรักษาภูมิแพ้ ซึ่งสามารถทำได้ตามประเภทของสารที่ก่อให้เกิดอาการ
ฝุ่นละอองและไรฝุ่น: รักษาความสะอาดบ้าน ซักผ้าปูที่นอนและหมอนบ่อย ๆ ใช้เครื่องดูดฝุ่นที่มีตัวกรองประสิทธิภาพสูง (HEPA) และลดการใช้พรมในบ้าน
เกสรดอกไม้: หลีกเลี่ยงการออกไปข้างนอกในช่วงที่เกสรดอกไม้สูง โดยเฉพาะในช่วงฤดูใบไม้ผลิหรือฤดูร้อน และปิดหน้าต่าง เพื่อป้องกันเกสรดอกไม้เข้าบ้าน
ขนสัตว์: หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์เลี้ยงที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ หมั่นทำความสะอาดสัตว์เลี้ยงและบริเวณที่สัตว์อยู่เป็นประจำ
อาหาร: หลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดการแพ้ ไม่ว่าจะเป็นถั่ว นม ไข่ และอาหารทะเล โดยการตรวจสอบฉลากอาหารทุกครั้งก่อนรับประทาน
มลพิษทางอากาศ: หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษสูง เช่น ควันบุหรี่ ควันจากยานพาหนะ หรือสารเคมีในอากาศ
การใช้ยารักษาภูมิแพ้
ยารักษาภูมิแพ้เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้บรรเทาอาการและรักษาภูมิแพ้ โดยยาที่นิยมใช้ในการรักษาภูมิแพ้ ได้แก่
ยาแก้แพ้ (Antihistamines): ยานี้ช่วยบรรเทาอาการจากการแพ้ ทั้งอาการคัน จาม น้ำมูกไหล และผื่น ยาแก้แพ้รุ่นใหม่มักไม่ทำให้ง่วงนอน เช่น ลอราทาดีน (Loratadine) หรือเซทิริซีน (Cetirizine)
ยาลดการอักเสบในจมูก (Intranasal Corticosteroids): ยาพ่นจมูกประเภทสเตียรอยด์ เช่น ฟลูติคาโซน (Fluticasone) ช่วยลดการอักเสบในโพรงจมูกและช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล
ยาควบคุมโรคหืด (Bronchodilators): สำหรับผู้ที่เป็นโรคหืดร่วมกับโรคภูมิแพ้ สามารถใช้ยาขยายหลอดลม เพื่อช่วยในการบรรเทาและรักษาภูมิแพ้ได้ เช่น ยาซาลบูทามอล (Salbutamol) ที่ช่วยลดการหดตัวของหลอดลมและบรรเทาอาการหายใจไม่สะดวก
ยาสเตียรอยด์ทาผิวหนัง: ใช้สำหรับผื่นภูมิแพ้หรือผื่นลมพิษ ยาสเตียรอยด์จะช่วยลดการอักเสบและอาการคันที่ผิวหนัง
การฉีดวัคซีนรักษาภูมิแพ้
การฉีดวัคซีนรักษาภูมิแพ้เป็นวิธีการรักษาที่ช่วยให้ร่างกายปรับตัวต่อสารก่อภูมิแพ้ได้ โดยการค่อย ๆ ฉีดสารก่อภูมิแพ้ในปริมาณเล็กน้อยเข้าสู่ร่างกาย เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันค่อย ๆ ปรับตัวและลดการตอบสนองที่รุนแรงลง วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการภูมิแพ้รุนแรงและไม่สามารถควบคุมอาการได้ด้วยยารักษาโรคภูมิแพ้ และผู้ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ได้
รักษาภูมิแพ้ร่วมด้วยการรักษาโรคร่วมอื่น ๆ
ในบางกรณี การรักษาภูมิแพ้ต้องทำควบคู่กับการรักษาโรคอื่น ๆ ที่เกิดร่วมกัน เนื่องจากโรคเหล่านี้อาจส่งผลให้อาการภูมิแพ้รุนแรงขึ้น
โรคหืด: ผู้ที่เป็นโรคหืดและภูมิแพ้มักจะต้องใช้ยาควบคุมอาการหืดอย่างต่อเนื่อง เช่น ยาขยายหลอดลมหรือยาสเตียรอยด์
โรคไซนัสอักเสบ: อาการคัดจมูกจากภูมิแพ้สามารถทำให้เกิดไซนัสอักเสบเรื้อรังได้ ดังนั้นจึงต้องรักษาภูมิแพ้ควบคู่ไปกับโรคไซนัสด้วย
โรคผิวหนังอักเสบ: ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังหรือโรคผิวหนังอักเสบต้องได้รับการรักษาด้วยยาทาผิวหนังและการดูแลผิวอย่างสม่ำเสมอ
การติดเชื้อทางเดินหายใจ: หากมีการติดเชื้อในทางเดินหายใจ หลอดลมอักเสบ หรือหูน้ำหนวก ควรได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะหรือยาต้านการอักเสบควบคู่กับการรักษาภูมิแพ้
รักษาภูมิแพ้ให้อาการดีขึ้นได้ เมื่อดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม
การดูแลรักษาภูมิแพ้ให้มีอาการดีขึ้นสามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม ซึ่งวิธีการเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยบรรเทาอาการแพ้ แต่ยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและสุขภาพโดยรวมให้แข็งแรงขึ้น โดยวิธีการดูแลรักษาสุขภาพที่เหมาะสม มีดังนี้
พักผ่อนให้เพียงพอ
การพักผ่อนที่เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูจากอาการแพ้ได้ดีขึ้น ผู้ที่ต้องการดูแลรักษาภูมิแพ้ จึงควรนอนหลับอย่างน้อย 7 ถึง 9 ชั่วโมงต่อคืน เพื่อช่วยลดความเครียดและเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในวัยเจริญเติบโตควรนอนหลับให้เพียงพอตามช่วงอายุ เนื่องจากหากนอนหลับไม่เพียงพอจะส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงและทำให้ภูมิแพ้กำเริบง่ายขึ้น
อยู่ในสภาพแวดล้อมอุณหภูมิที่เหมาะสม
ผู้ที่มีอาการภูมิแพ้ในระบบหายใจและต้องการรักษาภูมิแพ้ให้ดีขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง หรืออากาศแห้งเกินไป เพราะอาจทำให้เยื่อบุจมูกหรือทางเดินหายใจแห้ง ซึ่งส่งผลให้อาการภูมิแพ้รุนแรงขึ้น
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
การรับประทานที่เหมาะสม เป็นวิธีการดูแลรักษาภูมิแพ้ที่สามารถเริ่มต้นปฏิบัติได้ด้วยตนเอง โดยผู้ป่วยควรรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารและวิตามิน เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายต่อสู้กับภูมิแพ้ได้ดีขึ้น เน้นการรับประทานผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง และกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่พบในปลาทะเล เพราะสารอาหารเหล่านี้จะช่วยลดการอักเสบและอาการแพ้ รวมถึงการดื่มน้ำให้เพียงพอช่วยให้ร่างกายชุ่มชื้น และช่วยให้ระบบทางเดินหายใจทำงานได้ดีขึ้น
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานของปอดและหัวใจ อีกทั้งยังช่วยให้ระบบทางเดินหายใจมีความแข็งแรง ลดโอกาสการเกิดโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจได้ดี อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ต้องการรักษาภูมิแพ้ ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในสถานที่ที่มีมลพิษทางอากาศหรือในวันที่มีเกสรดอกไม้สูง เพราะอาจกระตุ้นอาการแพ้ได้
รักษาภูมิแพ้โดยการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ
การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเป็นวิธีรักษาภูมิแพ้ง่ายๆ ที่ช่วยลดการสะสมของสารก่อภูมิแพ้ในโพรงจมูก และลดอาการอักเสบและน้ำมูกไหลจากโรคภูมิแพ้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากน้ำเกลือจะช่วยล้างสิ่งสกปรก ฝุ่นละออง และสารก่อภูมิแพ้ออกจากโพรงจมูก ทำให้ทางเดินหายใจโล่งและลดอาการระคายเคือง
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.bangkokhospital.com/content/prevent-and-cure-allergic-rhinitis
อ่านเพิ่มเติม